วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์


 
ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์
(Thorndike’s Connectionism Theory)
เอ็ดเวิร์ด ลี ธอร์นไดค์ (Edward Lee Thomdike) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกา เกิด วันที่ 31สิงหาคม ..1814ที่เมืองวิลเลี่ยมเบอรี่ รัฐแมซซาชูเสท และสิ้นชีวิตวันที่ 9 สิงหาคม ..1949 ที่เมืองมอนท์โร รัฐนิวยอร์ค
ประวัติของธอร์นไดค์
หลักการเรียนรู้ ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง กล่าวถึง การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง โดยมีหลักพื้นฐานว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองที่มักจะออกมาในรูปแบบต่างๆ หลายรูปแบบ โดยการลองถูกลองผิด จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดีและเหมาะสมที่สุด
หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี
...ธอร์นไดค์ เขาได้เริ่มการทดลองเมื่อปี ..1898 เกี่ยวกับการใช้หีบกล( Puzzie-box) เขาทดลองการเรียนรู้จนมีชื่อเสียง
การทดลองใช้หีบกล
 
การทดลอง ในการทดลอง ธอร์นไดค์ได้นำแมวไปขังไว้ในกรงที่สร้างขึ้น แล้วนำปลาไปวางล่อไวนอกกรงให้ห่างพอประมาณ โดยให้แมวไม่สามารถยื่นเท้าไปเขี่ยได้ จากการสังเกต พบว่าแมวพยายามใช้วิธีการต่าง เพื่อจะออกไปจากกรง จนกระทั่งเท้าของมันไปเหยียบถูกคานไม้โดยบังเอิญ ทำให้ประตูเปิดออก หลังจาก นั้นแมวก็ใช้เวลาในการเปิดกรงได้เร็วขึ้น
จากการทดลอง ธอร์นไดค์อธิบายว่า การตอบสนองซึ่งแมวแสดงออกมาเพื่อแก้ปัญหา เป็นการตอบสนองแบบลองผิดลองถูก การที่แมวสามารถเปิดกรงได้เร็วขึ้น ในช่วงหลังแสดงว่า แมวเกิดการสร้างพันธะหรือตัวเชื่อมขึ้นระหว่างคานไม้กับการกดคานไม้
1.กฎแห่งความพร้อม(law of readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ 2.กฎแห่งการฝึกหัด (low of exercise) การฝึกหัดหรือกระทำบ่อยๆ ด้วยความเข้าใจจะทำให้การเรียนรู้นั้นคงถาวร ถ้าไม่ได้กระทำซ้ำบ่อยๆ การเรียนรู้นั้นจะไม่คงถาวร และในที่สุดอาจจะลืมได้
กฎการเรียนรู้
3.กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (law of effect) เมื่อบุคคลได้รับผลที่พึงพอใจย่อมอยากจะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พึงพอใจ จะไม่อยากเรียนรู้ ดังนั้น การได้รับผลที่พึงพอใจ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้
การประยุกต์ทฤษฎีของธอร์นไดค์ 1.ธอร์นไดค์ในฐานะนักจิตวิทยาการศึกษา เข้าได้ให้ความสนใจในปัญหาการปรับปรุงการเรียนการสอนของนักเรียนในโรงเรียน เขาเน้นว่า นักเรียนต้องให้ความสนใจในสิ่งที่เรียน ความสนใจจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อครูจัดเนื้อหาที่ผู้เรียนมองเห็นว่ามีความสำคัญต่อตัวเขา
2. ครูควรจะสอนเด็กเมื่อเด็กมีความพร้อมที่เรียน ผู้เรียนต้องมีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะเรียนและไม่ตกอยู่ในสภาวะบางอย่าง เช่น เหนื่อย ง่วงนอน เป็นต้น 3. ครูควรจัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกฝนและทดทวนในสิ่งที่เรียนไปแล้วในเวลาอันเหมาะสม 4. ครูควรจัดให้ผู้เรียนได้รับความพึ่งพอใจและประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรมเพื่อเป็นแรงจูงใจต่อตัวเองในการทำกิจกรรมต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น