วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

จิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์


(Gestalt Psychology)
กลุ่มนี้ได้ชื่อว่า กลุ่มจิตวิทยาส่วนร่วม
คำว่า“Gestalt” หมายถึง ส่วนรวมทั้งหมดหรือโครงสร้างทั้งหมด ซึ้งเป็นคำที่มาจาก ภาษาเยอรมัน
ทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ เป็นแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ เกิดขึ้นในระยะใกล้เคียงกับพฤติกรรมนิยม ผู้นำกลุ่มได้แก่ แมกซ์เวอร์ไธเมอร์ และผู้ร่วมกลุ่ม2 คน เคอร์ท คอฟพ์กา และวอล์ฟแกง โคเลอร์ เป็นชาวเยอรมัน
 
Max Wertheimer
หลักการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์
กลุ่มเกสตัลท์กล่าวว่า การเรียนรู้ที่เห็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยนั้นจะต้องเกิด จากประสบการณ์เดิม และการเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้น 2 ลักษณะคือ
1.การรับรู้ (Perception)
2.การหยั่งเห็น ( Insight )
1. การรับรู้(perception)หมายถึงการแปลความหมายหรือการตีความต่อสิ่งเร้าของอวัยวะ รับสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งห้าส่วนได้แก่ หู จมูก ลิ้น และผิวหนังโดยการตีความนี้มักอาศัยประสบการณ์เดิม
การเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ได้สรุปเป็นกฎการเรียนรู้ของ ทั้งกลุ่มออกเป็น 4 กฎ เรียกว่ากฎการจัดระเบียบเข้าด้วยกัน (The Laws of Organization) ดังนี้
1.
กฎแห่งความแน่นอนหรือชัดเจน (Law of Pragnanz)
2. กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity)
3. กฎแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity)
4. กฎแห่งการสิ้นสุด / กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closure)
1.กฎแห่งความแน่นอนหรือชัดเจน (Law Pragnanz )การเรียนรู้ที่ดีต้องมีความชัดเจนและแน่นอน เพราะผู้เรียนมีประสบการณ์เดิมแตกต่างกัน เมื่อต้องการให้มนุษย์เกิดการรับรู้ ในสิ่งเดียวกัน ต้องกำหนดองค์ประกอบขึ้น 2 ส่วน คือ
- ภาพหรือข้อมูลที่ต้องการให้การ สนใจ เพื่อเกิดการเรียนรู้ในขณะนั้น (Figure)
- ส่วนประกอบหรือพื้นฐานของการับรู้ (Backgrond or Groud)


ดูภาพข้างบนนี้ นักศึกษาเห็นว่าเป็นรูปพานหรือว่าเป็นรูปคน 2 คนหันหน้าเข้าหากัน ถ้าดูสีขาวเป็นภาพ สีดำเป็นพื้นก็จะเป็นรูปพาน ถ้าดูสีดำเป็นภาพ สีขาวเป็นพื้น ก็อาจจะเห็นเป็นรูปคน 2 คน หันหน้าเข้าหากัน ต่อไปลองพิจารณารูป 2 รูป ข้างล่างนี้ดูซิ
2.กฎแห่งความคล้ายคลึง (The law of Similarity) เป็นการวางหลักการรับรู้ในสิ่งที่คล้ายคลึงกันเพื่อจะได้รู้ว่าสามารถจัดเข้ากลุ่มเดียวกัน
3.กฎแห่งความใกล้ชิด (The law of Proximity) เป็นการกล่างถึงว่าถ้าสิ่งใดหรือสถานการณ์ใดที่มีความใกล้ชิดกัน ผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งนั้นไว้แบบเดียวกัน

4. กฎแห่งการสิ้นสุด/ กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closure)
สิ่งเร้าที่ขาดหายไปผู้เรียนสามารถรับรู้ให้เป็นภาพสมบูรณ์ได้โดยอาศัยประสบการณ์เดิม
2. การหยั่ง (Insight) หมายถึงการเรียนรู้ด้วยตัวเองโดยจะเกิดแนวความคิดในการเรียนรู้หรือการแก้ปัญหาขึ้นอย่างฉับพลันทันทีทันใด (เกิดความคิดแวบขึ้นมาในสมองทันที) มองเห็นแนวทางการแก้ปัญหาตั้งแต่จุดเริมต้นเป็นขั้นตอนจนถึงจุดสุดท้ายที่สามารถจะแก้ปัญหาได้
กลุ่มนี้มีแนวคิดว่า การเรียนรู้เกิดได้จากการจัดสิ่งเร้าต่าง ๆ มารวมกันเริ่มต้นด้วยการ รับรู้โดยส่วนรวมก่อนแล้ว จึงจะสามารถวิเคราะห์เรื่องการเรียนรู้ส่วนย่อยทีละส่วนต่อไป
ส่วนรวม > วิเคราะห์ > ส่วนย่อย
ในปัจจุบันได้มีผู้นำวิธีการเรียนรู้ของกลุ่ม เกสตัลท์มาใช้อย่างกว้างขวาง โดยเชื่อว่าเมื่อผู้เรียนได้ เรียนรู้โดยหลักของเกสตัลท์แล้ว ผู้เรียนจะมีสติปัญญา และความคิดสร้างสรรค์ และมีความรวดเร็วในการเรียนรู้ เพิ่มมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น