วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
Sigmund Freud










ซิกมันด์ ฟรอยด์ บิดาแห่งจิตวิทยา ชื่อนี้ผู้ที่เคยศึกษาจิตวิทยาย่อมรู้จักกันเป็นอย่า งดี ฟรอยด์คือนักจิตวิทยาในสายจิตวิเคราะห์ที่วิธีการของ เขาก็คือการสังเกตุพฤติกรรมจากคนไข้แล้วเอามาวิเคราะ ห์และตั้งเป็นทฤษฎีขึ้น เขามีผลงานที่มีคุณค่ามากมายถึงแม้ว่าบางครั้งผลงานข องเขาจะถูกวิเคราะห์ออกมาในแง่ลบ แต่ก็มีผู้คนไม่น้อยที่สนับสนุนแนวคิดของเขา

แนวคิดที่สำคัญ
จิตใต้สำนึก
ในช่วงเวลาหนึ่ง ฟรอยด์ได้ให้ความสนใจกับจิตใต้สำนึกของมนุษย์ที่มีอา รมณ์หลากหลายซ่อนอยู่ภายในซึ่งอารมเหล่านั้นอาจจะแสด งออกมาในขณะที่เจ้าของจิตใต้สำนึกเหล่านั้นไม่รู้ตัว หรือเป็นอารมณ์ที่แสดงออกมาในยามที่ได้รับสิ่งเร้ากร ะตุ้นสุดๆ เช่น เวลาโกรธ เวลาดีใจสุดๆ เวลาสับสน ฯลฯ



ฟรอยด์อธิบายจิตใต้สำนึกว่าเปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็ง ที่ลอยอยู่กลางมหาสมุทร ซึ่งส่วนที่โผล่เหนือน้ำเปรียบเสมือนจิตรู้สำนึก แต่ส่วนล่างที่จมอยู่ใต้น้ำคือจิตไต้สำนึก เมื่อใดที่เกิดคลื่นยักษ์ ซึ่งเปรียบได้กับสิ่งเร้ากระทบ ภูเขาน้ำแข็งจะเอียงไปตามแรงและเผยส่วนที่อยู่ใต้น้ำ ขึ้นมา นั่นคือการแสดงออกของจิตใต้สำนึก

ฟรอยด์อธิบายเอาไว้ว่าภายในจิตใต้สำนึกนี้มีกลไกทางจ ิตหลายประเภทด้วยกันได้แก่ แรงจูงใจ อารมณ์ที่ถูกเก็บกด ความรู้สึกนึกคิด ความฝัน ความทรงจำ ฯลฯ พลังของจิตใต้สำนึกนี้มีอิทธิพลอยู่เหนือจิตรู้สำนึก เป็นแรงจูงใจให้เกิดพฤติกรรมที่ผิดปกติในลักษณะต่างๆ ยกตัวอย่างง่ายๆได้แก่ คนบางคนที่ดีใจสุดๆอาจกระโดดโลดเต้นโดยไม่รู้ตัว หรือคนบางคนที่โกรธสุดๆอาจขว้างปาสิ่งของโดยไม่รู้ตั วเช่นกันและนั่งร้องไห้ทีหลังเมื่อรู้ว่าสิ่งที่ปาออ กหน้าต่างไปก็คือกระปุกออมสินกับเงินเก็บตลอดปี ฮา


โดยทั่วไป จิตใต้สำนึกจะมีพื้นที่มากถึง 6 ใน 7 ของจิตทั้งหมด จิดสำนึกมี 1 ใน 6 ส่วนจิตก่อนสำนึกคือส่วนที่คั่นระหว่างจิตสำนึกและจิ ตใต้สำนึก เป็นจิตที่ช่วยให้เขาเข้าถึงจิตใต้สำนึกอย่างรางๆ

พลังของจิตสำนึกนั้นมีอยู่หลายระดับ บางอย่างอยู่ในระดับลึก บางอย่างอยู่ในระดับตื้นและยังแตกต่างกันตรงความเข้ม หรืออ่อนของแรงผลักดันอีกด้วย


โครงสร้างบุคลิกภาพ

ฟรอยด์ อธิบายเอาไว้ว่า โครงสร้างทางบุคลิกภาพประกอบด้วยพลัง 3 อย่าง อันได้แก่ Id Ego และ Super Ego พลังทั้งสามอย่างนี้มีลักษณะเฉพาะตัว แต่ก็ทำงานร่วมกันได้ และเป็นตัวกำหนดบุคลิกของมนุษย์ผู้ซึ่งมีพลังสามอย่า งแตกต่างกัน

Id เป็นพลังที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด เป็นพลังแห่งความปรารถนาทางกายโดยไม่คำนึงถึงเหตุและ ผล ความถูกต้องหรือความดี เป็นพลังแห่งความพึงพอใจหรืออาจบอกได้ว่าเป็นสัญชาติ ญาณแบบสัตว์เดียรัจฉานบนสมองเก่าหรือสมองส่วนท้าย (hindbrain) ในวัยเด็ก ทุกคนจะมี Id สูงกว่า Ego และ Super Ego ซึ่งหากเด็กถูกควบคุมมากเกินไป ไม่ได้รับความพึงพอใจตอบสนอง Id จะเป็นผลร้ายต่อการพัฒนาทางบุคลิกภาพในอนาคต เช่น เป็นคนที่อ่อนไหวต่อคำสรรเสริญนินทา เป็นคนแสวงแต่ความสุขความสำราญเกินพอดี

Ego ป็นพลังแห่งการรู้การเข้าใจ การใช้เหตุผล การหาวิธีการเพื่อบรรลุเป้าหมาย และการใช้ตรรกกะเหตุผลคิดหาวิธีการสนอง Id เช่น เมื่อ Id หิว Ego จะใช้ตรรกกะคิดหาวิธีตอบสนองว่าวันนี้ควรจะกินอะไร ที่ไหน แบบไหน Ego เรียกอีกอย่างว่าพลังความรู้จริง

Super Ego เป็นพลังที่เกิดจากการเรียนรู้เช่นเดียวกับ Ego แต่จะแตกต่างกันตรงที่ Super Ego เป็นลักษณะค่านิยมต่างๆเช่น ความดีความชั่ว ถูกผิด ยึดมั่นในกฎระเบียบ เคร่งในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นพลังที่จะหักห้ามความรุนแรงของ Id โดยเฉพาะพฤติกรรมทางเพศและความก้าวร้าวรุนแรง

การทำงานร่วมกันของพลังทั้งสาม
พลังทั้งสามมีการทำงานร่วมกันในบุคลิกภาพของมนุษย์คน หนึ่ง ซึ่งมันจะเป็นตัวกำหนดบุคลิกภาพของคนคนนั้น เช่น คนที่มี Id สูงเกินไปก็จะเป็นแบบเด็กไม่รู้จักโต คนเอาแต่ใจหรือเห็นแก่ตัว ถ้า Ego สูงเกินไป คนนั้นก็จะเป็นคนมีเหตุผลเป็นนักปฏิบัติ ถ้า Super Ego สูงเกินไป คนคนนั้นก็จะเป็นนักอุดมคติ นักทฤษฎี



ขั้นตอนการพัฒนาทางบุคลิกภาพ

บ่อยครั้งนักที่ฟรอยด์มักจะย้ำนักย้ำหนาว่าการพัฒนาท างบุคลิกภาพของมนุษย์นั้นมักเริ่มขึ้นจากช่วงประถมวั ย จากการที่เขาสังเหตุและถามข้อมูลของคนไข้ที่มีปัญหาข องเขา ส่วนมากจะพบว่าปัญหาต่างๆของคนไข้เหล่านั้นมักมีต้นต อมาจากวัยเด็ก

ฟรอยด์เชื่อว่า ความต้องการทางร่างกายเป็นความต้องการตามธรรมชาติของ คน เป็นเช่นเดียวกับสัตว์เดียรัจฉาน ซึ่งต้องการแสวงหาความสุขจากส่วนต่างๆของร่างกาย พัฒนาตามขั้นตอนตามลำดับตั้งแต่วัยแรกเกิดไปจนถึงวัย ชรา

บุคคลใดที่พัฒนาไปตามขั้นตอนดังกล่าวด้วยดีก็จะทำให้ ผู้นั้นพัฒนาทางบุคลิกภาพได้อย่างสมบูรณ์ หากไม่เป็นดังกล่าวก็จะเป็นภาวะขัดข้องอยู่ ซึ่งอาจเกิดได้ขั้นใดขั้นหนึ่งหรือหลายขั้น โดยผู้ที่มีปัญหาดังกล่าวจะยังคงพอใจแสวงหาความสุขคว ามพอใจในขั้นที่ติดขัดต่อไปแม้ว่าช่วงวัยนั้นจะผ่านไ ปแล้วที่เป็นไปตามขั้นตอนต่อมาแล้วสภาพก็จะเป็นผลให้ เกิดการพัฒนาบุคลิกลบๆ แต่บุคคลที่เปลี่ยนพลังนี้ให้เป็นบวกได้เขาจะรู้จักป รับตัว

ฟรอยด์อธิบายถึงขั้นตอนทั้ง 5 ไว้ดังต่อไปนี้

1 ขั้นแสวงหาความสุขจากอวัยวะปาก ช่วงนี้ อายุโดยประมาณตั้งแต่คลอกไปจนถึง 18 เดือน ทารกมีความสุขในการใช้ชีวิตโดยการทำกิจกรรมทางปากเช่ น การดูด เคี้ยว กัด เล่นด้วยเสียง ผู้ที่พัฒนาทางนี้ไม่สมบูรณ์ตอนเป็นผู้ใหญ่ก็จะยังคง หามควมสุขเช่นนี้ต่อ เช่น กินจุบจิบ ชอบพูดคุย ชอบเคี่ยวหมากฝรั่ง ชอบนินทา ชอบสูบบุหรี่ ฯลฯ

2 ขั้นตอนแสวงหาความสุขจากอวัยวะเพศทวารหนัก ช่วงนี้อายุประมาณ 18 เดือนถึง 3 ขวบ ทารกจะชอบทำกิจกรรมที่ใช้ทวารหนัก หากช่วงเวลาความพอใจไม่สมบูรณ์ ทารกก็จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เจ้าระเบียบ พิถีพิถัน รักความสะอาดอย่างมาก

3 ขั้นแสวงหาความสุขจากอวัยวะเพศปฐมภูมิ 3-6 ปี เด็กมีความพึงพอใจทำกิจกรรมที่เนื่องด้วยอวัยวะเพศ เช่น
เล่นกับอวัยวะเพศของตน ซึ่งต่อมาจะมีการเลียนแบบบทบาททางเพศ เด็กหญิง-ชายที่ละเลยการเลียนแบบให้ถูกแนวในระยะนี้ จะโตเป็นพวกนิยมบทบาทของเพศตรงข้าม

4 ขั้นแสวงหาความสุขจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว 6-11 ปี เป็นระยะพักพัฒนาทักษะใหม่ เริ่มพัฒนาชีวิตสังคมนอกครอบครัว มีความพึงพอใจในการติดต่อกับผู้คนรอบตัวและเพื่อนร่ว ม
5 ขั้นแสวงหาความสุขจากแรงกระตุ้นของทุติยภูมิทางเพศ 12-20 ปีมีความพอใจ คบหาสมาคมกับเพื่อนต่างเพศ มีการเลียนแบบคนเพศเดียวกันที่ตนนิยม


สัญชาติญาณ
ฟรอยด์อธิบายเอาไว้ 2 อย่างได้แก่ ฐิติสัญชาตญาณหรือมุ่งเป็นและ ภังคสัญชาตญาณหรือมุ่งตาย
ฐิติสัญชาติญาณ สัญชาติญาณเพื่อเอาตัวรอดและดำรงพันธุ์ เช่น ความหิว ความกระหาย แรงขับดันทางเพศ สรุปได้ว่าเป็นพลังชีวิต
ภังคสัญชาตญาณ ฟรอยด์เชื่อว่า โดยส่วนลึกของจิตใต้สำนึกแล้วสุดท้ายมนุษย์ปรารถนาเพ ราะความตายคือเป้าหมายสุดท้ายของชีวิต ดังนั้นมนุษย์เลยแสดงออกมาในลักษณะพฤติกรรมที่ก้าวร้ าวรุนแรง
ฟรอยด์อธิบายว่าทั้งฐิติสัญชาติญาณและภังคสัญชาติญาณ เป็นพลังปะทะรังสรรค์ในตัวบุคคล เช่นทั้งลักทั้งเกลัยด บางครั้งก็ชดเชยกัน เช่นแม่ทืทีแรกโมโหตบตีลูก ต่อมากลับปลอบโยนอย่างอ่อนหวาน ลูกน้องที่ยกย่องเจ้านายไม่ขาดต่อมาอมานินทนนายอย่าง ขึ้งเคียด ภรรยาที่รักสามาอาจรู้สึกสบายใจเมื่อสามีจากไปไหนซัก ระยะ



ความหวาดกังวล

ฟรอยด์เชื่อว่าความหวาดกังวลเป็นเรื่องที่มนุษย์หลีก เลี่ยงไม่พ้นเพราะความปรารถนาของมนุษย์ไม่ได้รับการต อบสนองสมใจเสมอไปหรือ Ego ไม่สามารถควบคุม Id และ Super Ego ได้อย่างสมดุลเหมาะเจาะตลอดเวลา ฟรอยด์แบ่งความหวาดกังวลออกเป็น 3 ประเภทได้แก่
Reality Anxiety
Neurotic Anxiety
Moral Anxiety
(1) Reality Anxiety ได้แก่ความหวาดกลัวสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่อยู่รอบตัว เป็นต้นกำเนิดของ Neurotic Anxiety และ Moral Anxiety เป็นความกังวลที่เกิดกับคนส่วนใหญ่
(2) Neurotic Anxiety ได้แก่ความหวาดกลัวต่อตนเองว่า ตนจะไม่ควบคุมสัญชาตญาณได้ จะทำสิ่งอับอายขายหน้า จะถูกประจาน จะถูกประณามและลงโทษ
(3) Moral Anxiety ได้แก่ ความหวาดกลัวที่เกิดจากความสำนึกผิดชอบชั่วดี



6) Ego และกลวิธานป้องกันตัว (Defense Mechanism)
- กระบวนการเป็นไปทางกาย
- ความคับข้องใจ (Frustrations)
- ความขัดแย้ง (Conflicts)
- ความกระทบกระเทือนขวัญ (Threats)
ภาวะเหล่านี้บีบคั้นจิตใจ มนุษย์ไม่พึงปรารถนาจึงพยายามหาทางผ่อนคลาย ดังนั้นEgoจึงแสวงหาวิธีลดภาวะไม่พึงปรารถนาเหล่านี้ โดยวิธีการที่เรียกว่า “กลวิธานป้องกันตัว” ซึ่งเป็นการปฏิเสธ หรือปิดบังอำพรางความเป็นจริง เป็นกลไกทางจิตใต้สำนึก มากกว่าทางจิตสำนึก
1. การเก็บกด (Repression)., การเก็บกดความไม่พอใจต่างๆไว้ในระดับจิตใต้สำนึก คนที่โกรธเพื่อนอย่างรุนแรงอาจจำชื่อเพื่อนคนนั้นไม่ ได้ หรือนึกหน้าไม่ออก บางครั้งการเก็บกดอาจแสดงออกในรูปสับที่ (Displacement) เช่นเด็กผู้ชายที่เก็บกดความก้าวร้าวต่อพ่อ แล้วไประบายความก้าวร้าวต่อเพื่อนชาย ซึ่งการเก็บกดเป็นกลไกทางจิตที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วแก้ ยากมาก เพราะว่าเขาได้กดความเครียดที่เกิดจากความกลัวนั้นไว ้ในจิตใต้สำนึกเป็นเวลานาน
2. การทำตนให้เหมือน (Identification) คือการเลือกบุคคลบางคนเป็นแบบเพื่อทำตาม ซึ่งคนไม่ลอกทุกสิ่งทุกอย่างจากบุคคลที่เขายึดเป็นแบ บ เขาคัดเลือกเอาแต่ลักษณะบุคลิกภาพที่เขาต้องการ ตั้งแต่เป็นเด็กจนกว่าบุคลิกภาพของตัวเองจะลงตัว สั่งสมกันมากมายในหลายช่วงตอนของชีวิต
3. การทดแทน (Displacement)., ได้แก่การหยิบยกเอาสิ่งหนึ่งมาทดแทนสิ่งที่ปรารถนาแล ้วไม่สมหวังตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยไปจนถึงเรื่องใหญ่ การรู้จักทดแทนนี้ทำให้เรามีวิวัฒนาการทางอารยธรรม และทำให้มนุษย์มีลักษณะบุคลิกภาพเป็นไปในด้านต่างๆ เช่นความสนใจ ค่านิยม คติ ความชอบ ฯลฯ กลวิธานDisplacementที่มีค่ามาก คือการชดเชย (Sublimation)
4. การซัดทอดโทษผู้อื่น สิ่งอื่น (Projection) เกิดจากแรงกดดันของ Neurotic Anxiety และMoral Anxiety เช่นผู้ใหญ่เดินซุ่มซ่ามเตะกระโถน กลับโทษว่าเด็กวางกระโถนไม่ถูกที่
5. การแสดงปฏิกิริยาแกล้งทำ (Reaction Formation) ผู้ที่มีความรู้สึกอย่างหนึ่ง แต่ไม่กล้าแสดงออกตรงไปตรงมา (ปากอย่างใจอย่าง) การแสดงปฏิกิริยาแกล้งทำนี้ เมื่อแสดงบ่อยๆ จะกลายเป็นลักษณะนิสัยประจำตัวของบุคคล พฤติกรรมเสแสร้งนี้ในชีวิตประจำวันบุคคลอาจใช้เพื่อแ ก้ปัญหาชีวิตเป็นครั้งคราว แต่หากบุคคลใดใช้กลวิธานนี้มากและรุนแรงแล้ว เป็นการพัฒนาบุคลิกภาพที่อ่อนแอเพราะบุคคลนั้นอยู่ใน โลกของการหลอกลวงตนเอง และหลอกผู้อื่น สภาพเช่นนี้เป็นภัยต่อสุขภาพจิตเป็นอย่างยิ่ง
6. การชะงักงันของพัฒนาการ (Fixation) มนุษย์เรานั้นย่อมมีพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้ นหนึ่งตลอดเวลาตามวัย แต่บางคนไม่ต้องการพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งไปสมตามวั ย เพราะกลัวว่าถ้าหากมีพัฒนาการก้าวหน้าไปแล้ว ตนเองจะสูญเสียความมั่นคงทางจิตใจ เช่นกรณีที่เป็นผู้ใหญ่แล้วแต่ยังมีพฤติกรรมเหมือนเด ็กไม่รู้จักโต ก็เป็นการใช้กลวิธานแบบFixation
7. การถดถอยสู่วัยที่ผ่านมา (Regression) ในบางครั้งบางคราวบุคคลใช้กลวิธานแบบแสดงพฤติกรรมในว ัยที่ผ่านมาแล้วอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อผ่อนคลายความต ึงเครียด เพื่อเรียกร้องความสนใจ

กลวิธานมุกประเภท ทั้งคนปกติและผิดปกติใช้เอผ่อนคลายความหวาดกังวล ความตึงเครียด และความไม่มั่นใจโดยประการต่างๆ ความแตกต่างของพฤติกรรมปกติและผิดปกติอยู่ที่ความรุน แรงของการใช้กลวิธานนั้นว่ามีมากน้อยเพียงไร

จุดอ่อนในทฤษฎีของฟรอยด์ที่หลายประการ เช่น การเน้นพลังจูงใจก้าวร้าว และการแสวงหาความพึงใจ (พลังจูงใจเพศ)มากเกินไป ฟรอยด์ไม่ได้กล่าวถึงการปรับปรุงพัฒนาบุคลิกภาพสู่ลั กษณะวัฒนะ ชะตาชีวิมนุษย์ถูกกำหนดด้วยประสบการณ์อดีตมากเกินไป ฯลฯ แต่แนวคิดของฟรอยด์มีคุณค่ามากมายหลายประการเช่น กระตุ้นให้มีการศึกษาลุคลิกภาพจากคนปกติ กระตุ้นให้มีนักคิดทฤษฎีบุคลิกภาพอื่นๆ ข้อคิดเห็นของฟรอยด์ยังเร่งเร้าให้มีการศึกษาอบรมเด็ กอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันโรคประสาท โรคจิตในวัยผู้ใหญ่..

1 ความคิดเห็น: